ทำความรู้จัก Decentralized

Decentralized

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาพูดถึงการ Decentralize กันนะคะ เทคโนโลยี Decentralized จริงๆ แล้วมีใช้กันมานาน ถ้าเรายังจำ napster ได้ก็อาจจะคุ้นๆ napster เป็นอีก application นึงที่ใช้เทคโนโลยี Decentralized แต่ไม่ค่อยได้พูดถึงกัน จนมาปัจจุบัน เทคโนโลยี Blockchain และอื่นๆ ได้นำเทคโนโลยี Decentralized มาใช้กันอย่างแพร่หลาย ลองดูกันค่ะว่ามันเป็นอย่างไรบ้าง 

Decentralized

decentralized system เกิดขึ้นได้อย่างไร

decentralized system คือ ระบบที่ถูกแจกแจงไปทั่ว node ต่างๆ และไม่อาศัย central point of control (single server) หรือ authority

การ decentralize ระบบ สามารถสร้างได้ด้วยเทคโนโลยีเช่น blockchain , peer-to-peer networks, และ distributed computing โดย blockchain ช่วยให้เราสร้างเครือข่ายที่ decentralized ได้จากการที่ธุรกรรมจะถูกบันทึกและประมวลผลบน distributed ledger ซึ่งถูกดูแล (maintain) ด้วยเครือข่ายของ node แทนที่จะเป็น central authority หรือสำหรับ peer-to-peer network ก็ทำให้เกิดการแบ่งปันทรัพยากรและข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องพึ่ง central server และตัว Distributed computing หรือ cluster ก็มีประโยชน์ในการประมวลผลข้อมูลและแก้ปัญหาที่ซับซ้อนจากการใช้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องในการทำงาน 

เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถถูกนำมาใช้ร่วมกันได้หลากหลายวิธีเพื่อสร้าง decentralized system ซึ่งอาจมีความสามารถและคุณสมบัติแตกต่างกันไปได้มากมาย

Hadoop

ตัวอย่างของ decentralized system

ตัวอย่างแรกของ decentralized system ที่ผู้คนน่าจะรู้จักกันดีเช่นเครือข่าย blockchain อย่าง Bitcoin ภายในเครือข่าย Bitcoin นั้น ธุรกรรมจะถูกประมวลผลและบันทึกบน distributed ledger ซึ่งถูกดูแล (maintain) ด้วยเครือข่ายของ node ซึ่งแต่ละ node ในเครือข่ายมีสำเนาของ ledger และล้วนมีส่วนร่วมในการทำการตรวจสอบและบันทึกธุรกรรม และ ledger นี้ถูกดูแล (maintain) ด้วย consensus mechanism เรียกว่า “proof-of-work” ซึ่ง node ในนี้จะมีการแข่งขันกันเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อเพิ่มบล็อกใหม่ๆ ลงใน chain โดยเป็นไปเพื่อการรับรองให้มั่นใจว่า ledger ถูกดูแล (maintain) อย่าง decentralized หรือคือการที่ไม่มี central authority มาควบคุมเครือข่าย

ตัวอย่างต่อมาคือ IPFS (InterPlanetary File System) ซึ่งเป็นเครือข่ายแบ่งปันไฟล์แบบ peer-to-peer ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งปันไฟล์และดาต้าได้โดยไม่ต้องใช้ central server เนื่องจากมีการแตกไฟล์เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและแจกจ่ายไปทั่วเครือข่าย โดยแต่ละชิ้นถูกกักเก็บไว้บน node หลายๆ ตัว ซึ่งระบบนี้ช่วยให้เกิดการแบ่งปันไฟล์ที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และ decentralized

ตัวอย่างอีกชิ้นคือ distributed computing system อย่างเช่น Apache Hadoop ซึ่งช่วยในการประมวลข้อมูลจำนวนมากบนคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง แทนที่จะอาศัยเพียงเครื่องมือสมรรถภาพสูงเพียงเครื่องเดียว อันทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำให้สามารถใช้กับงานจำพวกการประมวลผลข้อมูล, machine learning, และอื่นๆ อีกมากมาย

นี่เป็นเพียงตัวอย่างโดยสังเขปเท่านั้น ยังมี decentralized system อีกหลากชนิด ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราและ use case

blockchain

ใครควรจะใช้ decentralized system

ใครๆ ก็สามารถใช้ decentralized system ได้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป, องค์กร, และสถานประกอบการต่างๆ ประโยชน์บางประการของ decentralized system เช่น การเพิ่มขึ้นของความปลอดภัย ความโปร่งใส และความยืดหยุ่น

ใครก็ตามที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวและการควบคุมข้อมูลของตนเองอาจเลือกที่จะใช้ decentralized system มาจัดเก็บและแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวของตน ตัวอย่างเช่น การใช้เครือข่ายแบ่งปันไฟล์แบบ decentralized อย่าง IPFS สามารถทำให้เราแบ่งปันไฟล์ได้โดยไม่ต้องใช้ centralized server ที่ทำให้เราเสี่ยงต่อการถูกละเมิดข้อมูลได้

ทางภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ เองก็สามารถใช้ decentralized system ในการพัฒนาการดำเนินการของตนและเพื่อการเพิ่มพูนประสิทธิภาพได้ เช่น ระบบการจัดการ supply chain แบบ decentralized สามารถถูกใช้เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าและวัสดุต่างๆ ได้อย่างทันทีทันใดในขณะนั้น ดังนั้นจึงช่วยลดการพึ่งพาตัวกลางและช่วยเพิ่มความโปร่งใส แต่อาจจะต้องแลกกับการทำงานที่ใช้เวลาสักนิด เนื่องจากจะต้องหาทีละ node และรวมๆ มา ซึ่งคือ trade-off ของการ decentralized

compare decentralized

องค์กรของรัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรก็สามารถใช้ประโยชน์จาก decentralized system เช่นเดียวกัน อาทิเช่นระบบการโหวตแบบ decentralized ซึ่งเป็นระบบที่โปร่งใสและเสี่ยงการฉ้อโกงลดลง หรืออย่างการลงทะเบียนที่ดินแบบ decentralized เองก็สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความเสี่ยงในการมีข้อผิดพลาด

ฉะนั้น โดยทั่วไปแล้ว ใครก็ตามที่ต้องการความปลอดภัย โปร่งใส และยืดหยุ่นในการจัดการข้อมูลของตนก็ล้วนสามารถได้รับประโยชน์จากการใช้ decentralized system ทั้งนั้น

About Author