5 Sustainability Trends 2023

อย่างที่เคยแนะนำไปในบทความก่อน Sustainability (ความยั่งยืน) เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงและเป็นเรื่องสำคัญมากในปัจจุบันนี้ ดังนั้นเราจึงอยากจะให้ความรู้เพิ่มเติมกับทุกคนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าด้วยเทรนด์ด้านความยั่งยืนต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมค่ะ 

หลาย ๆ คน รวมถึงองค์กรและภาครัฐต่างพากันตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินการอย่างยั่งยืนมากขึ้น และกำลังเดินหน้าเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเทรนด์ด้านนี้ ณ ปัจจุบัน ที่หลาย ๆ ที่กำลังให้ความสำคัญ ได้แก่

1. พลังงานทดแทน: กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น เช่นพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม หรือการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ด้วยมีประโยชน์ในการลดการปล่อยแก๊ซเรือนกระจก จึงสามารถช่วยบรรเทาวิกฤตโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ได้นั่นเอง พลังงานทดแทนที่กำลังเป็นที่นิยมกัน อาทิเช่น

พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม: แสงอาทิตย์และลมเป็นขุมพลังงานทดแทนที่เติบโตได้ไวที่สุด ด้วยมีการลงทุนในเทคโนโลยีด้านนี้มากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้พลังงานเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ในขณะที่ต้นทุนน้อยลงเรื่อย ๆ

การจัดเก็บพลังงาน: เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน เช่น แบตเตอรี่ มีความสำคัญมากเมื่อเรากำลังต้องการกักเก็บพลังงานทดแทนเพื่อใช้งานในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางคืนที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือตอนที่ลมไม่พัด ก็จะใช้งานพลังงานนี้ได้

ยานยนต์ไฟฟ้า: ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ทำให้ดีมานด์ของพลังงานทดแทนสูงขึ้นไปด้วย เพราะ EV ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ 

ไมโครกริด: ไมโครกริดคือระบบพลังงานแบบพร้อมในตัว (self-contained) ขนาดเล็ก ที่สามารถดำเนินงานได้ด้วยตนเองหรือเมื่อถูกต่อกับ power grid หลัก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมในการใช้งานสูงขึ้นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ไร้การเข้าถึงแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม หรือเมื่อการเข้าถึงนั้นไม่มั่นคง

นโยบายรัฐบาล: รัฐบาลทั่วโลกต่างพากันออกนโยบายที่สนับสนุนการใช้งานพลังงานทดแทน อย่างมาตรการจูงใจด้านภาษี, สร้างเป้าหมายด้านพลังงานทดแทน, และการให้การอุดหนุน

2. เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (circular economy): จุดมุ่งหมายของโมเดลนี้คือการลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด จากการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและการนำวัสดุมารีไซเคิล โดยกำลังได้รับสนใจจากหลายอุตสาหกรรม อย่างแฟชั่น, อาหาร, และอิเล็กทรอนิกส์ กระแสด้านต่าง ๆ ของเศรษฐกิจหมุนเวียน ประกอบไปด้วย:

ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต: ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรของแต่ละผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการกำจัด อย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่, แผนการรับคืนผลิตภัณฑ์, และการสนับสนุนให้ลูกค้าใช้ซ้ำและซ่อมแซมผลิตภัณฑ์

โมเดลผลิตภัณฑ์ในรูปแบบบริการ (product-as-a-service): บริษัทต่าง ๆ กำลังให้ความสนใจในรูปแบบธุรกิจใหม่ที่โฟกัสกับการขายบริการแทนการขายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น การเช่าเครื่องซักผ้าจากบริษัทที่ให้บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษา แทนการซื้อเครื่องด้วยตนเอง

supply chain แบบวงปิด (closed-loop): บริษัทต่าง ๆ กำลัง พยายามสร้าง supply chain แบบ closed-loop ที่หมายถึงการลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุดและการนำวัสดุมาใช้ใหม่หรือมารีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงวางแผนการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำไปถอดประกอบเพื่อรีไซเคิลได้ง่าย

การบริโภคร่วมกัน (collaborative): ตัวอย่างเช่น การนั่งรถยนต์ร่วมกัน และการกู้ยืมเงินผ่านช่องทางออนไลน์ (peer-to-peer lending) ซึ่งนี่จะช่วยให้บุคคลและองค์กรสามารถแบ่งปันทรัพยากรและลดปริมาณขยะ

แพลตฟอร์มดิจิตอล: แพลตฟอร์มดิจิตอลมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในการอำนวยความสะดวกให้เศรษฐกิจหมุนเวียนจากการเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าที่ถูกใช้แล้ว และการให้บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษา

3. การเกษตรแบบยั่งยืน (sustainable agriculture): กรรมวิธีทางการเกษตรแบบยั่งยืนเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องมาจากความต้องการในการทำการเกษตรอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการใช้ต้นทุนอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งเกิดจากความต้องการของภาคธุรกิจที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนระบบอาหารที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แนวทางการทำการเกษตรแบบยั่งยืนนั้นมีเช่น:

การเกษตรหมุนเวียน: แนวทางนี้เน้นเรื่องการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเป้าหมายคือการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น ตัวอย่างของแนวทาง เช่น การปลูกพืชคลุมดิน, การปลูกพืชหมุนเวียน, และการลดการไถพรวนหน้าดิน เป็นต้น

การเกษตรแม่นยำ: มีการใช้เทคโนโลยีอย่างเซ็นเซอร์และ GPS รวมถึงอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผล, ลดของเสีย, และอนุรักษ์ทรัพยากร เทคนิคที่ใช้เช่น การปลูกแบบแม่นยำ, การใช้ปัจจัยการผลิตแบบอัตราตัวแปร (variable rate application of inputs), และการตรวจสอบความชื้นในดิน

วนเกษตร: วนเกษตรเป็นระบบการจัดการที่ดินที่มีการรวมของต้นไม้กับพืชผลหรือปศุสัตว์ จึงสามารถเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ, ปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน, และกักเก็บคาร์บอน (carbon sequestration)

การเกษตรในเมือง: การเกษตรในเมืองคือการที่บุคคลและชุมชนปลูกพืชเพื่อนำมาเป็นอาหารในพื้นที่เล็ก ๆ เช่น บนดาดฟ้า, ระเบียง, และสวนในชุมชน และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก 

การปศุสัตว์แบบยั่งยืน: การปศุสัตว์สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อดำเนินการอย่างยั่งยืนขึ้นนั้นก็จะสามารถลดผลกระทบนี้ได้ อย่างการเลี้ยงปศุสัตว์แบบหมุนเวียนและการใช้พลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ เทรนด์นี้ยังก่อให้เกิดกระแสการรับประทานผลิตผลจากพืชและการใช้โปรตีนทางเลือก

4. Zero waste: ขบวนการ zero waste (ของเสียเป็นศูนย์) คือการสนับสนุนให้บุคคลและองค์กรช่วยกันลดปริมาณขยะโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้, การทำปุ๋ยหมัก, และการรีไซเคิล เป็นต้น ซึ่งนี่เป็นกระแสที่กำลังเติบโตเนื่องจากผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างมีการตระหนักถึงประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจจากการลดปริมาณขยะ และเทรนด์นี้ยังมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ โดยมีกระแสต่าง ๆ ได้แก่

บรรจุภัณฑ์ปลอดพลาสติก: ปัจจุบันนิยมการใช้พลาสติกน้อยลงสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์ และการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ และหลายเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถนำไปรีไซเคิลหรือใช้ซ้ำได้ง่าย

ผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้: ผู้บริโภคมองหาผลิตภัณฑ์เช่นนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำ, ถุงช้อปปิ้ง, หรือภาชนะบรรจุอาหาร เป็นต้น ธุรกิจจำนวนมากจึงตอบสนองด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ใช้ซ้ำได้มาแทนผลิตภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง

โมเดลเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน: ช่วยลดขยะและเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร เช่นระบบรีไซเคิลแบบ closed-loop และแผนการรับคืนผลิตภัณฑ์

ความคิดริเริ่มในการลดขยะ: รัฐบาลและธุรกิจหลายแห่งกำลังรนรงค์การลดปริมาณขยะ เช่น การแบนการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว, การสร้างแรงจูงใจในการลดขยะ, และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการรีไซเคิล

การ DIY และ การ upcycling: เทรนด์นี้เป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคือการที่ผู้บริโภคนำผลิตภัณฑ์เก่ากลับมาใช้ใหม่หรือสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเองจากวัสดุเหลือใช้

5. sustainability ขององค์กร: หลายบริษัทกำลังดำเนินการตามกลยุทธ์ด้าน sustainability เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยสร้างชื่อเสียงของตนต่อผู้บริโภคได้อีกด้วย ซึ่งคือความพยายามในการดำเนินงานอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบมากขึ้น เทรนด์นี้ดูจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากผู้บริโภค, นักลงทุน, และ stakeholder (ผู้ที่เกี่ยวข้อง) อื่น ๆ ต่างพากันกดดันบริษัทต่าง ๆ ให้จัดการกับความเสี่ยงด้าน sustainability เทรนด์ที่สำคัญสำหรับกลยุทธ์นี้ ได้แก่:

การตั้งเป้าหมายด้าน sustainability แบบเข้มข้น: อาทิเช่น การปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ หรือการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้มักเชื่อมโยงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์และเป็นไปเพื่อเพื่อความก้าวหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น 

การลงทุน ESG (environmental, social, and governance): ณ ตอนนี้ นักลงทุนต่างต้องการสนับสนุนบริษัทที่มีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่แข็งแกร่ง ทำให้ธุรกิจต่างพากันปรับปรุงประสิทธิภาพด้าน ESG เพื่อดึงดูดการลงทุนและลดความเสี่ยง

โมเดลเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน: ระบบรีไซเคิลแบบ closed-loop, แผนการรับคืนผลิตภัณฑ์, การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการหมุนเวียน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการลดขยะและใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความโปร่งใสและการรายงาน: บริษัทต่าง ๆ ถูกคาดหวังให้มีความโปร่งใสมากในด้านของการดำเนินงานด้าน sustainability หลายแห่งจึงเผยแพร่รายงาน sustainability เพื่อให้ข้อมูล stakeholder เกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินงานด้านนี้ ซึ่งจะรวมไปถึงการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงาน ESG, การปล่อยคาร์บอน, และแนวทางปฏิบัติด้าน sustainability อื่น ๆ

การทำงานร่วมกันและการเป็นหุ้นส่วน (Collaboration and partnerships): บริษัทต่าง ๆ ต่างตระหนักดีว่าพวกเขาไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย sustainability ได้โดยลำพัง จึงต้องการร่วมมือกับธุรกิจอื่น ๆ ,NGO,  และรัฐบาล เพื่อก้าวหน้าไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

จากตัวอย่างที่เรายกมานี้ ทุกคนคงเห็นแล้วว่า sustainability มีความสำคัญในทุก ๆ ส่วนของสังคมที่พวกเราอยู่ และตอนนี้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ก็ไม่ได้ตกไปไหนไกล แต่อยู่กับความแข็งแรงสมบูรณ์ของโลกและพวกเราซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยนั่นเองค่ะ 

About Author