10 ขั้นตอนสำหรับการสร้าง cyber security

สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาแนะนำ 10 ขั้นตอนง่าย ๆ หากต้องการจะสร้างเฟรมเวิร์ก cybersecurity สำหรับออฟฟิศของเราค่ะ:

1. การประเมินสถานะปัจจุบันขององค์กร: ทำการประเมินมาตรการป้องกันของออฟฟิศให้ทั่วถึง ซึ่งประกอบไปด้วย ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, เน็ตเวิร์ก, และนโยบาย แล้วจึงระบุช่องโหว่และพื้นที่ที่ต้องได้รับการปรับปรุง 

2. กำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัย: ทำการกำหนดเป้าหมายด้าน cybersecurity อย่างเฉพาะเจาะจงให้สอดคล้องกับสิ่งที่ออฟฟิศของเราต้องการ รวมถึงให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของตัวอุตสาหกรรม เป้าหมายเหล่านี้อาจประกอบไปด้วยการปกป้องข้อมูลที่เซ็นซิทีฟ, การป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงาน, สร้างโปรโตคอลหรือแพทเทิร์นในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ , และที่สำคัญที่สุดคือ business continuity plan หรือ การทำให้บริษัทสามารถทำงานต่อได้โดยไม่มีระบบ

3. สร้างนโยบายและข้อปฏิบัติ: จัดทำเซ็ตนโยบายและข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ ของ cybersecurity ซึ่งควรครอบคลุมเรื่องอย่าง การจัดการพาสเวิร์ด เช่น การเปลี่ยนพาสเวิร์ดทุก ๆ สามเดือน หรือการตั้งพาสเวิร์ดให้ยาก, การจัดหมวดหมู่ข้อมูล, การควบคุมการเข้าถึง, ซอฟต์แวร์อัพเดต, การตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ , และการฝึกพนักงาน 

4. สร้างการควบคุมการเข้าถึง (access control): สร้างการควบคุมการเข้าถึงที่รัดกุมเพื่อจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่เซ็นซิทีฟที่ไม่ได้รับอนุญาต นี่รวมถึงการใช้บัญชีผู้ใช้แยกกันต่างหากสำหรับพนักงานแต่ละคน, การบังคับใช้นโยบายพาสเวิร์ดที่รัดกุม, การทำให้มีการใช้การตรวจสอบสิทธิ์หลายปัจจัย, การตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงเป็นประจำ, และการเพิกถอนสิทธิ์การเข้าถึงเมื่อจำเป็น  

5. โครงสร้างพื้นฐานเน็ตเวิร์กที่ปลอดภัย: การสร้างมาตรการความปลอดภัยทางเน็ตเวิร์กที่เหมาะสม อย่าง firewall, ระบบตรวจจับการบุกรุก, และโปรโตคอลการเข้ารหัส และอัปเดตอัปกรณ์เน็ตเวิร์กเป็นประจำโดยใช้แพตช์ความปลอดภัยและเฟิร์มแวร์ล่าสุดเพื่อปกป้องช่องโหว่ที่เราได้ค้นพบ 

6. ให้ความรู้แก่พนักงาน: จัดทำการฝึกอบรมความตระหนักด้านความปลอดภัยสำหรับพนักงานทุกคน ซึ่งควรครอบคลุมเรื่องอย่างเช่นความตระหนักด้าน phishing, นิสัยการท่องเว็บที่ปลอดภัย, สุขอนามัยทางพาสเวิร์ด (password hygiene), วิศวกรรมสังคม, และการจัดการข้อมูลที่เซ็นซิทีฟที่เหมาะสม และควรส่งเสริมให้พนักงานคอยแจ้งกิจกรรมที่น่าสงสัยและอุบัติเหตุด้านความปลอดภัยที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น

7. คอยอัพเดตและแพตช์ระบบเป็นประจำ: จัดทำขั้นตอนสำหรับการอัพเดตซอฟต์แวร์เป็นประจำ, สำหรับการดำเนินระบบ, และสำหรับแอปพลิเคชันเพื่อทำให้แน่ใจว่าช่องโหว่ถูกแพตช์อย่างทันเวลา ดำเนินการใช้เครื่องมือจัดการแพตช์อัตโนมัติและติดตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยจากผู้ขาย 

8. ดำเนินการตรวจสอบและประเมินอย่างสม่ำเสมอ: เพื่อการระบุช่องว่างหรือจุดอ่อนของท่าทาง (posture) ของ cybersecurity ของออฟฟิศของเรา ซึ่งอาจรวมการแสกนหาช่องโหว่, การทำ penetration test, และการประเมินความเสี่ยง แล้วจึงจัดการจุดอ่อนที่เราพบและคอยปรับปรุงมาตรการด้านความปลอดภัยเสมอ ๆ 

9. ตรวจสอบและตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย: ดำเนินการใช้แผนการที่แข็งแรงที่มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ สร้างกลไกสำหรับการตรวจสอบและการตรวจจับการละเมิดด้านความปลอดภัยและกำหนดจั้นตอนที่ชัดเจนสำหรับการกักเก็บ, การถอนรากถอนโคน (eradication), และการกู้คืน 

10. จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก: เราควรพิจารณาให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน cybersecurity จากภายนอกในการตรวจสอบอย่างอิสระ, ให้คำแนะนำ, และให้ความช่วยเหลือในการใช้มาตรการด้านความปลอดภัยขั้นสูง ผู้เชี่ยวชาญมักจะมีความรู้เฉพาะทางและช่วยให้เราตามทันเรื่องภัยคุกคามและโซลูชันล่าสุดเสมอ ๆ 

สิ่งที่เราต้องจำไว้คือ cybersecurity เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง เราจำเป็นต้องคอยตรวจสอบ, ปรับตัวให้เข้ากับภัยคุกคามใหม่ ๆ , และคอยดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เราก้าวนำหน้าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ

About Author