IoT และการปฏิรูปอนาคตของการเกษตร

ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการเกษตรมากมาย ทำให้การเกษตรมีความพัฒนาเกิดขึ้นอย่างมาก โดยในช่วงนี้หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในวงการการเกษตรคือ IoT นั่นเองค่ะ โดย IoT จะสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตของการเกษตรได้อย่างไรบ้างนั้น เราได้เรียบเรียงมาให้ทุกคนอ่านแล้วค่ะ

ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรโลก UN Food and Agriculture Organization  จึงได้กล่าวไว้ว่าในปี 2050 สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือโลกของเรานี้จะต้องผลิตอาหารมากขึ้นเป็นจำนวน 70% รวมถึงยังจะต้องเผชิญกับพื้นที่การเกษตรที่หดลง, การลดลงของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด, และการเพิ่มผลผลิตของฟาร์มจะจำเป็นมากยิ่งขึ้น ซึ่งการมีอยู่อย่างจำกัดของของทรัพยากรธรรมชาติเช่นน้ำจืดและที่ดินสำหรับการเพาะปลูก และการที่ผลผลิตของพืชหลัก (staple crop) มีจำนวนน้อยลงนั้นยิ่งทำให้ปัญหาที่เราจะพบเจอหนักขึ้นไปอีก นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตรอีกซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างแรงงานการเกษตร และการลดลงของแรงงานเหล่านี้ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งผลที่ตามมาคือแรงกระตุ้นในเรื่องของความจำเป็นในการนำโซลูชัน internet connectivity มาใช้ในการเกษตร

เพื่อปิดช่องว่างอุปสงค์อุปทาน โซลูชัน IoT ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเกษตรกรในการผลิตผลผลิตให้ได้เป็นจำนวนมาก, การทำกำไร, และการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการรับรองให้มีการนำทรัพยากรมาใช้อย่างเหมาะสมเพื่อจุดมุ่งหมายของการสร้างผลผลิตจำนวนมากและเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนั้นเรียกว่าการเกษตรแม่นยำ (precision agriculture) และ IoT ในเทคโนโลยีการเกษตรนั้นประกอบไปด้วยอุปกรณ์พิเศษ, การเชื่อมต่อไร้สาย, ซอฟต์แวร์, และบริการด้านไอที

เกษตรกรต่างเริ่มตระหนักกันว่า IoT คือแรงขับเคลื่อนในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างคุ้มค่า โดยการสำรวจจาก BI Intelligence ได้ผลลัพธ์ออกมาว่าการนำเครื่องมือ IoT มาใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรจะมีจำนวนสูงถึง 75 ล้านในปี 2020 ซึ่งเติบโตเป็นจำนวน 20% ต่อปี และในขณะเดียวกันก็เป็นที่คาดการณ์ว่าขนาดของตลาดการเกษตรอัจฉริยะในทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในปี 2025 แตะ 15.3 พันล้านดอลลาร์ (เทียบกับ 5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2016)

การเกษตรอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี IoT ทำให้เกษตรกรหรือแม้แต่ผู้ปลูกทั่วไปสามารถลดของเสียและเพิ่มผลผลิตได้ไม่ว่าจะเป็นปริมาณของปุ๋ยที่ใช้ไปจนถึงจำนวนของการเดินทางที่ยานพาหนะในฟาร์มวิ่งไป และทำให้การใช้ทรัพยากรอย่างน้ำ, ไฟฟ้า, และอื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

โซลูชันการเกษตรอัจฉริยะคือระบบที่ช่วยตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกด้วยเซ็นเซอร์ (แสง, ความชื้น, อุณหภูมิ, ความชื้นของดิน, ความสมบูรณ์ของผลผลิต เป็นต้น) และยังช่วยทำให้ระบบชลประทานเป็นอัตโนมัติอีกด้วย เกษตรกรจึงสามารถตรวจสอบสภาพแปลงเกษตรได้จากทุกที่ และยังมีตัวเลือกในการลงมือจัดการพื้นที่ทั้งด้วยตนเองหรืออัตโนมัติจากการใช้ข้อมูลที่ได้รับมานี้ ตัวอย่างเช่น หากความชื้นในดินลดลง เกษตรกรสามารถใช้เซ็นเซอร์ในการให้น้ำได้ จึงทำให้การเกษตรอันฉริยะมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการแบบดั้งเดิมมาก

IoT สามารถเปลี่ยนแปลงการเกษตรได้ในหลากหลายทิศทาง หลัก ๆ คือ

ข้อมูลที่เซ็นเซอร์การเกษตรอัจฉริยะรวบรวม:

แนวทางการจัดการฟาร์มวิธีนี้นั้นมีส่วนประกอบสำคัญคือ เซ็นเซอร์, ระบบควบคุม, หุ่นยนต์, ยานพาหนะอัตโนมัติ, ฮาร์ดแวร์อัตโนมัติ, เทคโนโลยีอัตราตัวแปร (variable rate), ตัวตรวจจับการเคลื่อนไหว, button camera, และอุปกรณ์สวมใส่ โดยเราสามารถใช้ข้อมูลนี้มาติดตามสถานะโดยทั่วไปของธุรกิจ ตลอดจนประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและอุปกรณ์ ซึ่งการที่เราสามารถคาดเดาผลลัพธ์ของการผลิตทำให้เราสามารถวางแผนการกระจายสินค้าได้ดีขึ้น

โดรนเกษตร:

โดรนทั้งภาคพื้นดินและการเกษตรถูกนำมาใช้ในการเกษตรเพื่อปรับปรุงวิธีการทางการเกษตรต่าง ๆ : การประเมิณคุณภาพพืชผล, การชลประทาน, การตรวจสอบพืชผล, การฉีดพ่นพืชผล, การปลูก, การวิเคราะห์ดินและไร่นา

การติดตามปศุสัตว์และการกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์: 

เกษตรกรสามารถใช้แอปพลิเคชั่น IoT ไร้สายมาเก็บข้อมูลของตำแหน่ง, ความเป็นอยู่, และสุขภาพของสัตว์ที่มีอยู่ ซึ่งช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคและลดต้นทุนแรงงานได้

โรงเรือนอัจฉริยะ:

การใช้ IoT มาช่วยใช้เมื่อออกแบบเรือนกระจกจะทำให้เราสามารถตรวจสอบและควบคุมสภาพอากาศได้อย่างชาญฉลาด จึงไม่จำเป็นจะต้องลงมือทำการด้วยตนเอง 

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สำหรับการเกษตรอัจฉริยะ:

การคาดการณ์พืชผลนั้นสำคัญมากเนื่องจากช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนอนาคตได้เกี่ยวกับการผลิต, การจัดเก็บ, เทคนิคการตลาดและการจัดการความเสี่ยง โดยเราต้องใช้ข้อมูลที่เก็บจากเซ็นเซอร์บนฟาร์มในการคาดการณ์อัตราการผลิตของเครือข่ายพืชผลเทียม ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น ดิน, อุณหภูมิ, ความดัน, ปริมาณน้ำฝน, และความชื้น เกษตรกรสามารถได้รับข้อมูลดินที่แม่นยำได้จากแดชบอร์ดหรือแอปพลิเคชั่นมือถือแบบ customized

อย่างที่เราได้รวบรวมมานี้ จะเห็นได้ว่า IoT มีประโยชน์สำหรับสายการเกษตรมากทีเดียว และเนื่องจากตลาดนี้ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา จึงเป็นช่วงที่เหมาะอย่างยิ่งหากธุรกิจใดต้องการจะเข้าร่วมค่ะ

ที่มา: IOT SOLUTIONS WORLD CONGRESS

About Author