5 Use Case ของการใช้ CDN

Content delivery networks หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า distribution networks คือส่วนประกอบที่แทบจะขาดไปไม่ได้เสียแล้วสำหรับอินเตอร์เน็ต เพราะ edge server เหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้เราสามารถติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกด้วยความเร็วที่พวกเราคุ้นเคยกัน โดยเมื่อข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ origin จะต้องเดินทางไปยังผู้ใช้งานที่อยู่ห่างไกล ก็จะต้องเคลื่อนผ่านเซิร์ฟเวอร์ CDN ที่อยู่ใกล้ที่สุด เพื่อป้องกันการเกิด network congestion และ bottleneck ที่จะทำให้ข้อมูลไม่โหลด

ตอนไหนที่เราควรจะต้องใช้ CDN 

เมื่อมีปริมาณผู้เข้าชมสูงเวลามีกิจกรรม 

ถ้าหากเว็บไซต์ของเรากำลังโฮสต์อีเวนต์ที่มีจำนวนผู้ชมสูง หรือเป็นไปได้ว่าจะมีผู้ชมพรั่งพรูเข้ามาอย่างทันทีทันใด ก็สมควรใช้ CDN มารับภาระนี้ เพราะมันสามารถกระจายโหลดคำขอจากเว็บไซต์ของเราไปยังเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ เครื่องได้ ทำให้เว็บไซต์ของเรายังคงทำงานได้โดยไม่ล่มขณะที่มีจำนวนผู้ชมสูง นอกจากนี้ CDN สามารถแคชคอนเทนต์ที่เป็น static เพื่อลดภาระของเซิร์ฟเวอร์ origin ของเรา ทำให้มันสามารถรองรับคอนเทนต์ที่ไดนามิกได้

ตัวอย่างที่เห็นภาพชัด ๆ เช่น หากเราไลฟ์ขายของ และกำลังจัดโปร flash sale ที่จำกัดเวลา จำนวนผู้ชมคงจะค่อนข้างถล่มทลายมากกว่าปกติในช่วงเวลานั้น ๆ ดังนั้นถ้าโซลูชันการสตรีมของคุณไม่พร้อมที่จะรับกระแสผู้ชมนี้ เว็บไซต์ก็อาจจะล่ม ซึ่งสิ่งที่จะล่มตามไปคือยอดขายและลูกค้า แต่หากใช้ CDN ตัวเว็บไซต์ก็จะไม่ประสบปัญหาอะไรในช่วงการจัดโปรนี้

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เมื่อเว็บไซต์ของเรากำลังทำการรายงานอีเวนต์ใหญ่อย่างหนึ่ง แน่นอนว่าจำนวนผู้ชมในเวลานั้นจะต้องสูง CDN จะสามารถเข้ามาช่วยหลีกเลี่ยงการ crash ของเว็บไซต์และช่วยให้เว็บไซต์รองรับจำนวนผู้ชมได้

ผู้ชมจากทั่วโลก 

ถ้าเว็บไซต์ของเราวางกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าชมให้มาจากทั่วทุกมุมโลก การใช้ CDN จะช่วยทำให้คุณพัฒนาประสบการณ์ผู้ใช้สำหรับผู้เยี่ยมชมจากหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก แม้เราจะอยู่ต่างจังหวัดที่ห่างไกลและสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่ดีนัก ก็สามารถเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้โดยได้รับประสบการณ์เดียวกันกับกรณีที่เราอยู่ในเมืองใหญ่ นั่นเป็นเพราะเซิร์ฟเวอร์ CDN ที่ใกล้เราที่สุดก็จะยังจัดส่งคอนเทนต์เดียวกัน และจะลด latency และพัฒนาเวลาโหลดหน้าเว็บ

โดยปกติแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งข่าวมักจะใช้ CDN เนื่องจากต้องกระจายข้อมูลเหตุการณ์ด่วนไปยังผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นจึงไม่สามารถเสี่ยงให้ชื่อเสียงของตนถูกกระทบจากการที่ผู้ใช้จากหลากหลายพื้นที่ได้รับประสบการณ์ที่ต่างกัน CDN ทำให้ผู้ประกาศข่าวและสำนักพิมพ์สามารถเข้าถึงผู้คนจากที่ไหนก็ได้ด้วย latency และ buffering ที่น้อยที่สุด เพื่อที่ผู้ชมจะได้รู้เหตุการณ์ได้โดยทันทีและรู้ว่ามันจะส่งผลกระทบต่อตนอย่างไร

ไฟล์วิดีโอขนาดใหญ่ 

CDN เหมาะสมที่จะใช้กับกับไฟล์วิดีโอขนาดใหญ่ทุกชนิด ทั้งไลฟ์และ on demand โดยถึงแม้เราจะได้ encode และ compress ไฟล์นี้ไปแล้ว มันก็คงจะยังมีขนาดที่ใหญ่อยู่พอสมควรและอาจจะต้องใช้เวลานานในการโหลดบนเครื่องของผู้ชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตช้า เพราะ CDN สามารถกระจายโหลดคำขอไปยังเซิร์ฟเวอร์หลายตัวได้ ดังนั้นจึงลดภาระของเซิร์ฟเวอร์ origin และความเป็นไปได้ในการสร้างความหงุดหงิดที่ไม่จำเป็นแก่ผู้เข้าชม ตัวอย่างเช่น ธุรกิจเกี่ยวกับไลบรารี VOD เองก็ได้รับประโยชน์จาก CDN เช่นเดียวกันแม้จะไม่ได้เผยแพร่คอนเทนต์สด โดยเป็นเพราะข้อมูลจำนวนมากยังคงต้องคอยเดินทางไปทั่วอินเตอร์เน็ตอยู่

สตรีมมิ่งสดและ On Demand 

เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่ CDN จะไม่จำเป็นต่อการใช้งานในการสตรีมทั้งสดและ on demand โดยเฉพาะหากต้องการสร้างแพลตฟอร์ม industry-specific คล้ายกับ Netflix หรือ Hulu เพราะประสบการณ์ผู้ใช้ทางบวกขึ้นอยู่กับการเดลิเวอรี่ที่รวดเร็วและความมั่นคงเนื่องจากปริมาณข้อมูลวิดีโอ bandwidth ที่มีการใช้ เรียกได้ว่า CDN ช่วยให้เรามี end user ที่มีจำนวนเยอะ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

ตัวอย่างของธุรกิจอื่นที่การใช้ CDN จะมีประโยชน์คือเว็บไซต์กีฬาที่มีการออกอากาศการแข่งขันแบบสด ด้วยอาจจะมีผู้ชมเป็นพันไปจนถึงหลายแสนคนที่จะดูสตรีมเดียวกันในเวลาเดียวกันที่อาจทำให้เกิดการ lag และ network congestion ขนาดหนักหากทุกสิ่งจะต้องไหลผ่านเส้นทางดิจิตัลเดียวกัน แต่ CDN สามารถกระจายข้อมูล ทำให้ผู้ชมได้รับข้อมูลอย่างราบรื่นมากขึ้น lag และ buffering เพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นในการผลักให้ผู้ชมไปใช้งาน site อื่น แต่หากมี latency ที่น้อย ผู้ชมก็จะอยากใช้งานแอปหรือเว็บเพจอันเดิม

ความปลอดภัยและการปกป้องคอนเทนต์

CDN นั้นเป็นที่เหมาะสมในการใช้อย่างยิ่งเมื่อเว็บไซต์ของเราโฮสต์คอนเทนต์หรือข้อมูลที่เป็นความลับ เพราะ CDN มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเช่น SSL/TLS encryption, DDoS protection,และ firewall เว็บแอปพลิเคชันเพื่อป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาติ นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องข้อมูลของเราจากการถูก hotlink และจากขโมย bandwidth ทำให้องค์กรอื่น ๆ ไม่สามารถใช้คอนเทนต์หรือข้อมูลละเอียดอ่อนของเราได้หากไม่มีคำอนุญาต

CDN ไม่จำเป็นตอนไหนบ้าง? 

เราอาจไม่จำเป็นต้องใช้ CDN เมื่อเรามี:

งบที่จำกัด

CDN อาจมีค่าใช้จ่ายสูง แม้จะไม่เสมอไป โดยเฉพาะเมื่อถูกใส่ในโซลูชัน one-stop shop และยังมีเวอร์ชันฟรีให้ใช้งาน ดังนั้นจึงควรคำนวนเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย CDN กับราคาขาออกให้ดีก่อนจะทำการสมัครใช้งาน

ผู้ชมจำนวนน้อยที่อยู่กระจุกกัน

ถ้ากลุ่มผู้ชมของคุณนั้นมีจำนวนเล็กและอยู่ภายในท้องถิ่นเท่านั้น ใช้แค่เซิร์ฟเวอร์เดียวก็เพียงพอในการทำให้คอนเทนต์ของเรากระจายได้อย่างราบรื่น แต่ถ้าหากเราจะสตรีมให้ผู้ชมจากทั่วโลก ก็ควรใช้ CDN แม้อาจจะใช้สเกลแตกต่างกันไป สเกลใหญ่เมื่อต้องการเข้าถึงผู้ชมจำนวนมาก หรือใช้เพียงฟรีเวิร์ชันสำหรับกลุ่มผู้ชมที่แม้จะเล็กแต่กระจายตัวกัน

จากทั้งหมดที่กล่าวมา สรุปได้ว่า CDN เป็นที่จำเป็นในกรณีส่วนมาก เนื่องจากมีความสำคัญมากต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการกระจายคอนเทนต์อย่างรวดเร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปต่าง ๆ โดยสามารถช่วยปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้, ลดอัตราตีกลับ (bounce rate), และเพิ่มเอ็นเกจเมนต์

หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของสตรีมมิ่ง Wowza ก็มีบริการ CDN ที่ทรงพลังและยืดหยุ่นให้สำหรับทั้งลูกค้าซอฟต์แวร์ (on-premise) และลูกค้าที่ cloud-based ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสื่อ, ยิม, ข่าวสาร, หรืออื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากการทำวิดีโอ ก็สามารถใช้ Wowza ในการเพิ่มความเร็วของ delivery speed ได้ และสร้างความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า

About Author